ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
รายงานของทีไอ ที่เปรียบเสมือนองค์กรต่อต้านการคอรัปชั่น บ่งชี้ว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุ 15-30 ปี ในประเทศฟิจิ, อินโดนีเศีย, เกาหลีใต้ และศรีลังกา บอกว่า พวกเขาพร้อมจะคอร์รัปชั่น เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ศรีรักษ์ พลีพัฒน์ผู้อำนวยการทีไอ ประจำภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิก กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถาม รู้ดีว่าการทุรจิตเป็นเรื่องที่ผิด พวกเขาเป็นคนมีคุณธรรมสูง และปรารถนาที่จะอยู่ในสังคมได้ แต่ก็เชื่อว่า การจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น ต้องมีการประนีประนอม และคล้อยตามสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทีไอ ให้คำจำกัดความการคอร์รัปชั่นว่า ครอบคลุมถึงการรับสินบน, การเล่นพวกพ้อง, การขัดแย้งด้านผลประโยชน์ หรือการกระทำใดๆที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียใต้ คือภูมิภาคที่มีปัญหาด้านการทุจริตมากที่สุดในโลก เนื่องจากยังคงมีปัญหาความยากจนอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากก็ตาม
คนรุ่นใหม่จำนวนมากในหลายประเทศ เคยทุจริตทั้งในเรื่องสาธารณะ และในองค์กร ซึ่งสถานการณ์ที่พวกเขามักจะทำการทุจริตคือ ช่วยญาติๆให้เข้าโรงเรียน หรือเข้างานได้ ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า 12% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเกาหลีใต้ จะติดสินบน หรือใช้เส้นสายจากเพื่อน หรือญาติ ที่สามารถเข้าไปแทรกแซง หรือเร่งการทำงานได้ ขณะที่ศรีลังกา มีอัตราส่วนสูงถึง 32%
นายศรีรักษ์ กล่าวด้วยว่า ถ้าคนรุ่นใหม่อยากจะแสดงให้เห็นว่า อนาคตของประเทศจะขึ้นอยู่กับพวกเขา และทำให้เชื่อว่า พลังของพวกเขาจะทำให้สังคมดีขึ้นได้ พวกเขาจะต้องทำให้ผู้นำมีความซื่อสัตย์ให้ได้ เช่นเดียวกับผู้นำ ที่จะต้องทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นสังคมที่ปลอดการคอร์รัปชั่น ซึ่งรัฐบาลจะต้องพัฒนา และทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติ เพื่อแก้ไขวิกฤตนี้ รวมถึงหน่วยงานด้านการศึกษา จะต้องพัฒนาหลักสูตรต่อต้านการคอร์รัปชั่น และจัดอบรมด้านจริยธรรมในทุกระดับการศึกษา
ขณะที่ อันดับความโปร่งใสของไทยเมื่อปี 2556 แย่ลงโดยร่วงจาก 88 อยู่ที่ 102 จากทั้งหมด 177 ประเทศ และได้ 35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เท่ากับเอกวาดอร์ มอลโดวา และปานามา ทั้งยังอยู่อันดับที่ 16 จาก 28 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกหรือซีพีไอ มีคะแนนตั้งแต่ 0 คือคอร์รัปชันมากที่สุด ถึง 100 คือคอร์รัปชันน้อยที่สุด
No comments:
Post a Comment